หัวข้อ   “ประชาชนคิดอย่างไร กรณีทหารไทยปะทะทหารกัมพูชา”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล  พบว่า  สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างไทย – กัมพูชา ลุกลามจนเกิดเหตุการณ์ปะทะกันขึ้นนั้น ร้อยละ 26.4  มองว่าเกิดจาก
การยั่วยุของฝ่ายกัมพูชา  รองลงมาร้อยละ 25.6 เกิดจากรัฐบาลไทยขาดเอกภาพในการทำงาน
ร้อยละ 21.4  มองว่าเป็นเพราะการเดินเกมที่ผิดพลาดของรัฐบาลไทย    และร้อยละ 12.8
มองว่าเกิดจากความเคลื่อนไหวกดดันของกลุ่มพันธมิตร  ตามลำดับ
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 สำหรับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ประชาชน
ส่วนใหญ่พอใจการทำหน้าที่ของกองทัพในการปกป้องรักษาแผ่นดินไทย (พอใจร้อยละ 67.5)
แต่ไม่พอใจการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการแก้ปัญหาข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ทับซ้อน (ไม่พอใจ
ร้อยละ 80.2)  และการชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจ (ไม่พอใจร้อยละ
74.9)   ส่วนการเตรียมพร้อมในการอพยพและดูแลชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมีกลุ่มผู้ที่
ระบุว่าพอใจและไม่พอใจในสัดส่วนใกล้เคียงกัน  (พอใจร้อยละ 50.6 ไม่พอใจร้อยละ 49.4)
 
                 เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพและความพร้อมของกองทัพไทยในการรับมือ
กับปัญหาความขัดแย้งที่อาจลุกลามบานปลาย   พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 67.4 ระบุว่าเชื่อมั่น
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด  ส่วนความเชื่อมั่นในศักยภาพด้านการเจรจาของกระทรวงการต่างประเทศเพื่อยุติปัญหาความ
ขัดแย้ง  ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.3 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
   
                 สำหรับสิ่งที่อยากให้รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์  ทำมากที่สุดในขณะนี้เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง
ไทย – กัมพูชา  พบว่า อันดับแรกต้องการให้รัฐบาลเปิดโต๊ะเจรจากับกัมพูชา ร้อยละ 46.6   รองลงมาให้เร่งชี้แจง
ข้อเท็จจริงต่อสหประชาชาติ (UN) ร้อยละ 25.3   และให้อาเซี่ยนมาเป็นคนกลางแก้ปัญหา ร้อยละ 10.4    ทั้งนี้
มีเพียงร้อยละ 6.0 ที่ต้องการให้ใช้กำลังทหารเข้าต่อสู้จนรู้แพ้รู้ชนะ
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทย – กัมพูชา ลุกลามจนเกิดเหตุการณ์
                 ปะทะกันขึ้น คือ

 
ร้อยละ
การยั่วยุจากฝ่ายกัมพูชา
26.4
รัฐบาลขาดเอกภาพในการทำงาน
25.6
การเดินเกมที่ผิดพลาดของรัฐบาล
21.4
ความเคลื่อนไหวกดดันของกลุ่มพันธมิตร
12.8
ความอ่อนแอของกองทัพไทย
4.9
อื่นๆ อาทิ  ผู้นำทั้งสองฝ่ายขาดการพูดคุยทำความเข้าใจกัน  และเป็นเรื่อง
การเมืองภายในของทั้งสองประเทศ ฯลฯ
8.9
 
 
             2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ จากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่าง
                 ไทย – กัมพูชา จนถึงขณะนี้

ประเด็น
พอใจ
(ร้อยละ)
ไม่พอใจ
(ร้อยละ)
การทำหน้าที่ของกองทัพไทยในการปกป้องรักษา
แผ่นดินไทย
67.5
32.5
การเตรียมพร้อมในการอพยพ และดูแลชาวบ้าน
ที่ได้รับผลกระทบ
49.4
50.6
การชี้แจงข้อเท็จจริงของรัฐบาลให้ประชาชน
ได้รับทราบและเข้าใจ
25.1
74.9
การทำหน้าที่ของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหา
ข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ทับซ้อน
19.8
80.2
 
 
             3. ความเชื่อมั่นในศักยภาพและความพร้อมของกองทัพไทย ในการรับมือกับปัญหาความขัดแย้ง
                 ที่อาจลุกลามบานปลาย พบว่า


 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
โดยแบ่งเป็น - เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 23.8
  - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 43.6
67.4
ไม่เชื่อมั่น
โดยแบ่งเป็น - ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 7.2
  - ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 25.4
32.6
 
 
             4. ความเชื่อมั่นในศักยภาพด้านการเจรจาเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งของกระทรวงการต่างประเทศ
                 พบว่า


 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
โดยแบ่งเป็น - เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 3.3
  - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 21.4
24.7
ไม่เชื่อมั่น
โดยแบ่งเป็น - ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 31.0
  - ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 44.3
75.3
 
 
             5. สิ่งที่อยากให้รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ทำมากที่สุดในขณะนี้เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง
                 ไทย – กัมพูชา คือ

 
ร้อยละ
เปิดโต๊ะเจรจากับกัมพูชา
46.6
เร่งชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสหประชาชาติ (UN)
25.3
ให้อาเซี่ยนมาเป็นคนกลางแก้ปัญหา
10.4
ยกเลิก MOU 43 ระหว่างไทย - กัมพูชา ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตร
8.1
ใช้กำลังทหารเข้าต่อสู้จนรู้แพ้รู้ชนะ
6.0
อื่นๆ อาทิ ยุบสภา
3.6
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป  ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,075 คน  เป็นเพศชายร้อยละ
55.0 และเพศหญิงร้อยละ 45.0
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ
(Open Form)  และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  7 กุมภาพันธ์ 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 8 กุมภาพันธ์ 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
591
55.0
             หญิง
484
45.0
รวม
1,075
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
267
24.8
             26 – 35 ปี
313
29.1
             36 – 45 ปี
243
22.7
             46 ปีขึ้นไป
252
23.4
รวม
1,075
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
465
43.3
             ปริญญาตรี
502
46.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
108
10.0
รวม
1,075
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
132
12.3
             พนักงาน/ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
367
34.1
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
282
26.2
             รับจ้างทั่วไป
93
8.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
61
5.7
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
140
13.0
รวม
1,075
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776